
Blue Ocean หัวใจสำคัญที่นำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จได้จริง โดย อ.ยอด ฉัตรชัย ระเบียบธรรม
Blue Ocean หรือBlue Ocean Strategy เป็นกลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน ที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจให้หลีกเลี่ยงการทำตลาดที่มีการแข่งขันสูงจากคู่แข่งในอุตสาหกรรมชนิดเดียวกัน ที่ความแตกต่างระหว่างสินค้ามีไม่มาก แต่จะมุ่งเน้นไปที่การแสวงหาการตลาดใหม่ ๆ ซึ่งมีอัตราการแข่งขันต่ำ ทำให้ธุรกิจสามารถหาโอกาสเพื่อทำกำไรได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องมีใครมาแย่งส่วนแบ่ง เพื่อให้ธุรกิจไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันอันดุเดือดBlue Ocean Strategy จึงเป็นการสร้างความต้องการขึ้นมาใหม่ โดยไม่เน้นการตอบสนองต่ออุปสงค์เดิมที่มีอยู่ และไม่สนใจการแข่งขันเดิมที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม แนวคิดนี้จึงเป็นการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการแบบที่ยังไม่เคยมีใครตอบสนองมาก่อน ซึ่งเป็นแนวคิดมาจาก W.Chan Kim และ Renee Mauborgne อาจารย์จาก INSEAD (อินซีด)สถาบันบริหารธุรกิจในฝรั่งเศส
โดยหลักการ Blue Ocean Strategy หรือ ERRC มีอยู่ 4 ส่วนสำคัญคือ
- Eliminated เป็นการยกเลิกสิ่งที่เคยนำเสนอให้แก่ลูกค้า จากการเห็นว่าลูกค้าต้องการ แต่ในความเป็นจริงนั้นลูกค้าอาจไม่ต้องการแต่อย่างใด ซึ่งก่อนหน้านี้ลูกค้าอาจจะยอมใช้เพราะไม่มีทางเลือก
- Reduced เป็นการลดคุณค่าบางอย่างที่ลูกค้าได้รับให้ต่ำลงกว่าระดับอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าของราคา เพราะคุณค่าที่เกินมากเกินไปอาจเกิดจากความคิดที่ว่าลูกค้าต้องการ แต่ในความเป็นจริงลูกค้าไม่ต้องการมากขนาดนั้น
- Raised เป็นการเพิ่มคุณค่าบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม หรือเป็นแนวทางตรงกันข้ามกับ Reduced เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นความต้องการที่ไม่เคยได้รับการตอบสนอง
- Created เป็นการสร้างบางสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ไม่เคยมีใครตอบสนองมาก่อน หรือเป็นสิงที่ลุกค้าอาจไม่เคยมาก่อนว่าต้องการ
สำหรับหลักการของBlue Ocean Strategy ที่เคยได้ยินได้ฟังมาทั่วไปจากที่อื่นจะมีประเด็นสำคัญดังกล่าวมา แต่หัวใจสำคัญที่จะทำให้ ทฤษฎีBlue Ocean ประสบความสำเร็จได้ในชีวิตจริงนั้นกลับไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนขนาดนั้น

นายฉัตรชัย ระเบียบธรรม(อ.ยอด) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยอด คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประธานหลักสูตร Genius Academy ทั้ง 6 Season ได้กล่าวเสริมให้ความรู้ เกี่ยวกับหลักคิดBlue Ocean เอาไว้ในพิธีเปิดตัวหลักสูตร DIPROM GENIUS AGRO 360 NEW WORLD เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ไว้ว่า มีทฤษฎีมีหนังสือมากมายที่สอนเกี่ยวกับBlue Ocean Strategy มากมายที่สอนในเรื่องนี้ และมักนำพาไปสู่ ตลาดน่านน้ำสีน้ำเงิน ที่มักจะเป็นน่านน้ำใหม่ ที่ต้องระวังว่าน่านน้ำใหม่ที่จะไปนั้นอาจไม่มีคนหรือลูกค้าอยู่ในBlue Ocean โซนนั้นก็ได้ ซึ่งBlue Ocean ในความหมายของ อ.ยอด คือ การหาความต้องการของลูกค้าที่ลูกค้าไม่รู้ว่าต้องการให้เกิด ไม่ต้องไปสร้างความต้องการใหม่ที่ไหน แค่หาความต้องการที่ลูกค้ามีความต้องการแต่ลูกค้าไม่รู้ว่าต้องการให้เจอ เพราะความต้องการนั้นมีอยู่จริง หรือเข้าไปหาในกลุ่ม Target ของลูกค้าเรา เพื่อทำความรู้จักกับลูกค้า แล้วลูกค้าอาจจะบอกได้ว่าเค้าต้องการอะไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วBlue Ocean นั้นไม่มีใครสามารถครอบครองได้นิรันดร์กาล ไม่นานBlue Ocean ก็จะกลายเป็นผสม Red Ocean และจะกลายเป็น Red Ocean ในที่สุด ดังนั้น ในการทำธุรกิจ เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า New World Blue Ocean นั้นมีอยู่จริงแต่ไม่นิรันดร์ เราจึงต้องพัฒนาต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่เสมอ
ยกตัวอย่างเมื่อ 3 ปีที่แล้วได้เชิญ คุณนาม สุรนาม พานิชการ ผู้ก่อตั้งโทฟุซัง ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินไม่กี่แสนบาทในตลาดที่มีแต่ยักษ์ใหญ่ แต่สามารถยืนหยัดสร้างยอดขายได้ถึง 500 ล้านบาท โดย Positioningmag ซึ่งเป็น Genius Academy รุ่นที่ 3 มาเป็นอัจฉริยะโค้ช คุณนามมีความคิดเกี่ยวกับBlue Ocean ไปในทิศทางเดียวกันที่ว่าBlue Ocea ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล แต่Blue Ocean นั้นอาจเป็นเพียงแค่เปลี่ยนเหยื่อตกปลาในตลาดผู้เล่นเดิมเท่านั้นพอ เพียงแค่เปลี่ยนเหยื่อตกปลาในดินแดนที่มีลูกค้าชุกชุม แต่เบื่ออาหารแบบเก่าเท่านั้น จึงทำให้เกิด โทฟุซัง (Tofusan) ขึ้นมาได้ เพราะเราแค่เปลี่ยนเหยื่อตกปลา เปลี่ยนจากน้ำเต้าหู้กล่องในรูปแบบกล่อง UHT เป็นน้ำเต้าหู้สด รสชาติเหมือนที่ขายตามรถเข็น ท่ามกลางผู้บริโภคกลุ่มเดิมก็กลายเป็นBlue Ocean ไซส์ขนาดใหญ่มากได้แล้ว ฉะนั้นแล้วคำว่าBlue Ocean จึงแปลว่าหลายอย่างมากๆ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้แตกต่าง แล้วนำเอาความสำเร็จมาเป็นที่ตั้งที่สำคัญ เพราะถ้าเราเดินหลงทางโดยไม่รู้ว่าหลงทางมันน่ากลัว.
เขียน/เรียบเรียงโดย : Kasetintrend.com
—————————-
แหล่งอ้างอิง :
Blue Ocean Strategy คืออะไร? กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม
ถอดเทปพิธีเปิดตัวหลักสูตร DIPROM GENIUS AGRO 360 NEW WORLD , 6 มิถุนายน 2565