การปลูกแตงกวา คัมภีร์วิถีแตงกวา ปลูกแล้วสำเร็จ Success ทุกกรณี

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้มีการคาดการณ์แนวโน้ม เศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2565 ไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0โดยสาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 2.7 – 3.7 สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.7 – 1.7 สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 0.2 – 1.2 สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.0 – 4.0 และสาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.5 – 2.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
1. สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตรและปริมาณฝนที่มีมากขึ้น ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณนํ้าเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกและไม่ประสบปัญหาภัยแล้ง
2.การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพิ่มช่องทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการวางแผนการผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยใช้หลั3.กการตลาดนำการผลิต บริหารการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร สร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ ส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิตและแปรรูปสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและตอบโจทย์การบริโภค รวมทั้งพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการบริหารจัดการสินค้าเกษตร
3. ศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรของไทยและความเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย เป็นโอกาสของภาคเกษตรไทยที่ประเทศต่าง ๆ มีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น
4. สถานการเศรษฐกิจไทยโดยรวม ปี 2565 ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนให้มีการเดินทางท่องเที่ยวและการบริโภคสินค้ามากขึ้นส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น
5. เศรษฐกิจโลกในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวได้ รวมถึงความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้าที่จะมีการกลับมาเจรจากันอีกครัง้ เป็นโอกาสให้ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาวะ เศรษฐกิจการเกษตร ปี 2565 ยังมีปัจจัยเสี่ยงและสถานการณ์สำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่อาจทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะความรุนแรงของลมพายุและสถานการณ์นํ้าท่วมหลาก ซึ่งอาจทำให้พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร
- สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เนื่องจากสถานการณ์ที่ยังคงยืดเยื้อและความเสี่ยง ของการกลับมาระบาดในรอบใหม่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าของโลกฟื้นตัวได้ช้า
- การระบาดของโรคพืชและสัตว์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่อาจส่งผลต่อการผลิต และการค้าสินค้าเกษตรของไทย
- ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ที่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากค่าเงินบาท มีการแข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศคู่แข่ง จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของสินค้าเกษตรไทย
- ราคานํ้ามันดิบที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ราคานํ้ามันในประเทศและราคาปัจจัยการผลิตอาทิปุ๋ยสารเคมีกำจัดโรคและแมลงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วยซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงราคานํ้ามันยังส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรอาทิยางพาราและพืชพลังงานทดแทน
ที่มา : https://www.oae.go.th