เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า ตอบโจทย์การทำนาแบบปราณีต โดย อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การทำนาไทย ช่วยลดปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์ ลดต้นทุน ปุ๋ย โรค แมลง และส่งเสริมการรวมกล่มการลงทุน คิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย เพื่อตอบโจทย์การทำนาไทยในต้นทุนที่ตำกว่าของต่างประเทศ
คุณสมบัติเด่นของ เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า :
เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้าสำหรับทำนาแบบประณีต ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ ต้นข้าวเติบโตได้เร็วและวัชพืชเกิดได้ช้า ไม่มีการทำลายรากช่วงย้ายต้นกล้าลงแปลงนาทำให้ต้นข้าวไม่อับเฉาตอนปลูกและไม่ต้องเสียเวลาพักตัว ต้นข้าวแข็งแรง รากอยู่ใกล้ผิวดินทำให้กินปุ๋ยได้ดีกว่า ใช้ปุ๋ยน้อยลง ข้าวโตเร็วได้ผลผลิตสูงกว่าแบบอื่น ข้าวที่ปลูกเป็นระเบียบไม่แน่นเกินไป มีช่องว่างให้แสงแดดส่องถึงพื้นนาทำให้ลดการวางไข่ของแมลงและลดเชื้อโรคได้โดยวิธีธรรมชาติ จึงลดการใช้ยาปราบศัตรูพืช สามารถกำจัดพันธุ์ข้าวปลอมปนหรือข้าววัชพืชได้ง่ายตั้งแต่ช่วงเพาะกล้าในถาดเพาะ การดูแลและจัดการนาข้าวทำได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นการทำนาแบบใช้ปุ๋ยเคมีหรือทำนาแบบอินทรีย์ เพื่อการผลิตข้าวที่มีคุณภาพและเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับชาวนาไทย เหมาะสำหรับกลุ่มเกษตรกร และผู้รับจ้างทำนา สนนราคาที่ประมาณ 4 แสนบาทสำหรับตัวเครื่องทั้งหมด, ราคาประมาณ 1 แสนบาทสำหรับส่วนหาง หากทำเ็นธุรกิจรับจ้างทำนาแบบครบวงจร จะใช้เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า 2 ตัว พร้อมระบถาดเพาะกล้า ราคาจะอยู่ประมาณ 1.3 ล้านบาท เหมาะสำหรับพื้นที่นาปรัง เขตชลประทาน
การทำงานของ เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า :
ใช้หลักการง่าย ๆ คือ การทำนาแบบโยนกล้า แต่โยนกล้าอย่างไรให้เป็นระเบียบแบบนาดำ มีข้อดี คือ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ลงทุนต่ำ ต้นกล้ามีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ใช้แรงงานคนน้อย สามารถปลูกต้นกล้าได้อย่างเป็นระเบียบ ทำงานได้รวดเร็ว ตัวเครื่องไม่มีการสัมผัสดิน ทนทาน และต้นทุนการซ่อมบำรุงต่ำกว่าเครื่องดำนาโดยทั่วไป กลไกลการทำงาน มี 2 ส่วน คือ
1 ชุดหย่อนอยู่ตรงตัวหางข้างหลังที่พิศดารมาก เกิดบนพื้นฐานความคิดที่เรียบง่าย แต่ได้ประสิทธิภาพสูง โดยใช้ถาดเพาะกล้าสอดเข้าไป แล้วเครื่องคีบกล้าให้เอง มี 10 หัว 10 แถว มากกว่าญี่ปุ่นที่มีแค่ 8 แถว จึงประหยัดน้ำมัน ตอนคีบกลไหลเป็นเส้นแทยงมุม โดยใช้กลไกล ที่เก็บได้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ เมื่อคีบเสร็จจะปาต้นกล้าใส่พื้น แล้วต้นกล้าจะปักลงดินแบบตั้งเด่ โดยไม่มีผลต่อการติดหล่มของรถ เพราะปล่อยจากอากาศสู่พื้นไม่มีการอิงกับล้อที่เอียงหรือติดหล่ม ส่วนด้านบนเป็นเหมือนวงแหวนที่แขวนกล้า ที่มหุนได้มีไว้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน กลไกลข้างหลังใช้แบตเตอรี่แค่ตัวเดียว ไม่เกี่ยวกับตัวรถเราจึงมีทั้งแบบหางที่นำไปแปะกับรถไถนาทั่วไปได้
2. ฝั่งตัวรถ เพื่อออกแบบล้อให้วิ่งได้ทุกสภาพดิน ในบ้านเรา จนพัฒนาออกมาเป็นไอเขี้ยมที่สะเทิ้นน้ำมะเทิ้นบก โดยใช้รถไถเดินตามมาเป็นต้นแบบ แล้วตัดแฮนด์ออกให้สั้นลง สามารถสับเปลี่ยนระหว่างล้อยางและล้อเหล็กได้ ล้อเหล็กอยู่ด้านนอก ล้อยางอยุู่ด้านบน จึงเปลี่ยนล้อง่ายตอบโจทย์การทำงานของชาวนา จัดเป็นรถกึ่งรถอนเกประสงค์ ข้างหลังเป็นสกีเมื่อใช้งานในดินนาจึงง่ายขึ้นด้วย
จุดเด่นของ :
ด้วยคุณสมบัติแบบไอเขี้ยม สายเลือด KU ตัวนี้ จะมีความพิเศษตรงที่ สามารถวิ่งบนถนนทั่วไปได้ บนพื้นนาก็ได้ สลับการขับเคลื่อน เป็น 2 ล้อ โดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนล้อ นาหล่มจัดก็ไม่กลัว เพราะกระดูกสันหลัง ยืดขยายตัวออกได้ เมื่อล้อติดหล่อม แก้หล่มได้ด้วยการปลดสลักให้ล้อชุดหลังหลุดปรับเป็นขับเคลื่อน 2 ล้อก่อนเพื่อให้ส่วนหัวเบาตัว แล้วจะดึงขึ้นจากหล่มได้ง่าย เมื่อขึ้นจากหล่มแล้วจึงสวมสลักเข้ากลับส่วนหางใหม่ ก็จะทำให้ไม่ติดหล่มแก้หลมได้ด้วยวิธีการนี้ เมื่อรถติดหล่มจึงถอยออกได้ สำหรับในส่วนของตัวหย่อนกล้าเป็นส่วนที่การออกแบบมุ่งเน้น ให้แผงกลไกลตัวนี้มีความพิเศษเป็นที่นั่งเก้าอี้ทำนาคอยสอดกล้าเข้าไป เร่งความเร็วให้ถี่หรือห่างได้ หยิบจับได้อย่างแม่นยำ โดยเครื่องจะการหนีบตุ้มดินต้นข้าวจากถาดเพาะ แล้วหย่อนลงไปในนาทำให้ต้นกล้ามีความบอบช้ำน้อย ในขณะที่เครื่องดำนาแบบถาดเพาะแผ่นกล้า ใช้การถอนต้นกล้าออกจากแผงกล้าโดยวิธีฉีกรากออกจากแผ่นเพาะต้นกล้าที่เกาะตัวเป็นแผ่น จึงทำให้เกิดความบอบช้ำ รากขาด และต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการฟื้นตัวและสร้างรากใหม่มาทดแทนรากที่ฉีกขาดไป ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นข้าวอ่อนแอ โรคเข้าแทรกได้ง่าย จึงทำให้ไม่ต้องใช้ยา ตลอดอายุการเพาะปลูก
นอกจากนี้ เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้า ยังช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงไปได้มาก และเป็นคันเดียวในโลกที่สามารถปลูกข้าวต้นเดี่ยวได้ โดยถ้าเพาะเมล็ดแบบ 1 ต้น/หลุม จะใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กก./ไร่, หากใช้แบบ 3 เมล็ด/หลุม จะใช้เมล็ดพันธุ์แค่ 2.5 กก./ไร่ จากการทำการศึกษาวิจัย ที่จังหวัดสกลนนคร กับข้าวสันป่าตอง 1 พบว่า สามารถช่วยเพิ่มผลบผลิตได้กว่า30% ซึ่งมีการทดลองใช้เครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้าแล้วพบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตจากที่เคยได้จากการปลุกดำและดูแลอย่างดี 800 กก./ไร่ เป็น 1.2 ตัน/ไร่ ที่จังหวัดสกลนนคร กับข้าวสันป่าตอง 1 ที่
หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ คณะวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศษาสตร์ วิทยาเขตบางเขน หรือที่ อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โทร.0819270098
เขียน/เรียบเรียงโดย : Kasetintrendcom