การปลูกแตงกวา คัมภีร์วิถีแตงกวา ปลูกแล้วสำเร็จ Success ทุกกรณี

ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่กำลังกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หลังชะลอตัวลงในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดหนัก ประกอบกับการมีมาตรการผ่อนปรนของนานาประเทศที่เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่กำลังสินค้าการผลิตด้านอุปทานยังคงตอบสนองไม่ทัน จึงทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าความกดดันด้านราคาคาดว่าจะลดลงในปีหน้า แต่แนวโน้มของเงินเฟ้อยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่เศรษฐกิจของหลายกลุ่มประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2564 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.9 ปรับลดลงจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ที่คาดว่าจะขยายร้อยละ 6.0 ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่หดตัวร้อยละ 3.1 ได้สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ทั้งนี้ IMF คาดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นผลมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะอ่อนตัวลง หลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปี 2564 โดยได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ญี่ปุ่น จีน และอาเซียน 5 จะขยายตัวร้อยละ 5.2 4.3 3.2 5.6 และ 5.8 ตามลำดับ
โดยสภาวะเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ ได้ส่งผลต่อราคาอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่จำเป็นสำคัญต่อประชากรโลกด้วย จากดัชนีราคาอาหาร Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) พบว่า ดัชนีราคา อาหารเฉลี่ยในปี 2564 (เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2564) อยู่ที่ระดับ 124.9 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปี 2563 ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 97.2 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 ดังนี้
1. ราคา สินค้าเกษตร กลุ่มเนื้อสัตว์เฉลี่ยเพิ่มขึ้น
โดยราคาเนื้อวัวและเนื้อแกะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเอเชียตะวันออก ในขณะที่ผลผลิตของโอเชียเนียยังมีจำกัด สำหรับราคา เนื้อสัตว์ปีกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การขยายการผลิตสัตว์ปีก ยังมีจำกัดจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นและการระบาดของโรคไข้หวัดนกในยุโรป ส่วนราคาเนื้อสุกร ปรับตัวลดลงตามความต้องการของจีนที่ลดลง
2. ราคา สินค้ากษตร กลุ่มผลิตภัณฑ์นมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
โดยราคาเนย ราคานมผงขาดมันเนยและราคานมผงปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการนำเข้าของทั่วโลกเพิ่มขึ้น ผู้ซื้อจำนวนมากต้องการผลผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตในสต็อก ในขณะที่ปริมาณนํ้านมในยุโรปลดลงตามฤดูกาลและฤดูการผลิตใหม่ของโอเชียเนียที่เริ่มการผลิตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนราคาเนยแข็งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของประเทศในยุโรปที่เพิ่มขึ้น แต่มีปริมาณการผลิตลดลง
3. ราคาสินค้ากลุ่มธัญพืชเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
โดยราคาข้าวสาลีปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การคาดการณ์การเก็บเกี่ยวที่ลดลงของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยเฉพาะแคนาดา รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา สำหรับราคาข้าวบาร์เลย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวสาลี ประกอบกับ ความต้องการของโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตมีแนวโน้มลดลง ส่วนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงทรงตัว เนื่องจากแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และราคาข้าวยังคงทรงตัว ซึ่งเป็นผลจาก ความพยายามในการส่งเสริมการขายในต่างประเทศและการเคลื่อนไหวของค่าเงิน แม้ว่าจะเข้าสู่ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหลักของผู้ผลิตหลายรายในอาเซียน ในขณะที่ราคาข้าวฟ่างปรับตัวลดลง เนื่องจาก ความต้องการนำเข้าที่ลดลง
4. ราคาสินค้ากลุ่มนํ้ามันพืชเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
โดยราคานํ้ามันปาล์มปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากเนื่องจากการผลิตที่ตํ่ากว่าศักยภาพและการลดลงของสต็อกนํ้ามันปาล์มในประเทศมาเลเซีย จากการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคานํ้ามันเรพซีดปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสหภาพยุโรปมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตของโลกมีค่อนข้างจำกัด ส่วนราคานํ้ามันเมล็ดทานตะวันปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณการส่งออกที่มีอย่างจำกัดในภูมิภาคทะเลดำ เนื่องจากผลผลิตในปี 2564/65 ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวเข้าสู่ตลาด และราคานํ้ามันถั่วเหลืองปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าทั่วโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงราคานํ้ามันดิบที่พุ่งสูงขึ้นยังส่งผลให้ราคานํ้ามันพืชปรับตัวสูงขึ้นด้วย
5. ราคานํ้าตาลเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
เนื่องจากความเสียหายจากนํ้าค้างแข็งที่สร้างความเสียหาย ต่อผลผลิตอ้อยของบราซิล และผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคานํ้าตาล ที่เพิ่มขึ้นยังคงได้รับแรงกดดันจากการอ่อนค่าของค่าเงินเรียลบราซิลเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และแนวโน้มการผลิตที่ดีขึ้นในอินเดียและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ราคาเอทานอลที่สูงขึ้นในบราซิล เริ่มส่งผลกระทบต่อราคานํ้าตาล
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร